Archives

เมทิลโบรไมด์ตกค้างในข้าว ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยเราได้ครับ

วันนี้เอาเกร็ดน่ารู้เชิงวิทยาศาสตร์มาฝากกัน หลังจากมีกระแสความสับสนเรื่องข้าวเกิดขึ้น เรื่องข้าวปนเปื้อนเมทิลโบรไมด์ ที่ฟังดูอลังการน่ากลัว มาสู่ข้อมูลน่ารู้กันบ้างครับ เอาเป็นความรู้บ้านๆ จากผมที่แชร์กันในฐานะคนใกล้ข้าว และเคยเรียนเคมีมาบ้าง แชร์เพื่อนๆ อ่านกันให้พอมีความรู้ ระหว่างช่วงเวลากระแสข้าวที่สับสนตอนนี้ครับ ข้อเท็จจริงเรื่องนึง คือ เมทิลโบรไมด์ นี่ทีจริงแล้วเป็นสารเคมีที่นำมาใช้ในการรมควันผลิตผลทางการเกษตรทั่วโลก โดยปริมาณการใช้ตามที่ต่างๆ ในโลกตามข้อมูล NaBr, Science Lab Material Safety Data Sheet (MSDS) – 2012 คือ USA 43% EU 24% Asia 24% สารชนิดนี้ใช้ในการรมผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรทั่วโลกมานานกว่า 95 ปีแล้ว ไม่ใช่สารใหม่ที่เพิ่งนำมาใช้ หรือโลกเพิ่งรู้จักและบ้านเราดันสุ่มสี่สุ่มห้าเอามาใช้แต่อย่างใดครับ เหตุผลที่นำมาใช้เพราะเมทิลโบรไมด์มีจุดเดือดต่ำ ที่ 3.54 oC หลังจากเอามารมควัน พวกมอด แมลง ตาย เมทิลโบรไมด์ก็ระเหิดไป เพราะตามปกติเมทิลโบรไมด์มีสภาวะเป็นก๊าซ เจออุณหภูมิสูงแบบบ้านเราในที่อากาศโปร่ง ก็จะระเหิดไป (ลองนึกนึกถึงลูกเหม็นที่ใช้ตามบ้าน ที่มันระเหิดไปตามเวลา) เพราะฉะนั้นถ้ารมควันเสร็จแล้วปล่อยให้ระเหิดไปตามกำหนดเวลาก็จะเป็นเรื่องปกติ พอพบว่ามีมอดแมลงอีก ก็ค่อยรมควันกันใหม่เป็นคราวๆไป (ที่ต้องเอารมใหม่เพราะสารมันระเหิดไปหมดแล้ว มอดแมลงก็มาใหม่ได้ ก็จะต้องรมควันกันเป็นคราวๆไป) คุณสมบัติเรื่องนี้ถือเป็นจุดเด่น ที่ทำให้ทั่วโลกเลือกใช้เมทิลโบรไมด์เป็นสารรมควัน… Read More »