ประวัติที่มาของ โดรายากิ Dorayaki โดราเอมอน

By | 09/26/2013

ประวัติความเป็นมา ของโดรายากิ หรือที่เขียนภาษาญี่ปุ่น ว่า どら焼き, どらやき, 銅鑼焼き, ドラ焼き = Dorayaki

โดรายากิ เป็นขนมหวานของญี่ปุ่น ที่เรามักจะเริ่มต้นรู้จักจากเรื่อง โดราเอมอน ที่เชื่อว่าหลายๆ คนในบ้านเรา น่าจะ­รู้จักกันดี โดยเฉพาะคนที่ชื่นชอบหรือดูการ์ตูนโดราเอม­อนครับ

โดรายากิ

Dorayaki (どら焼き, どらやき, 銅鑼焼き, ドラ焼き)

หลายคนคงทราบกันดีว่า โดรายากิ ในการ์ตูนโดราเอมอน จะเป็นขนมหวานที่โดราเอมอนชอบมาก โดยแป้งทอดจะเป็นแพนเค้กเนื้อนุ่มสองชิ้นป­ระกบกันและสอดไส้ถั่วแดงกวนที่หอมหวาน โดยตามเนื้อเรื่องในปัจจุบัน มีที่มาจากในศตวรรษที่ 22 “โดราเนียโกะ” เป็นคนให้โดราเอมอนทานครั้งแรก จึงเป็นความทรงจำดีดี ของโดราเอมอนที่ทำให้ โดราเอมอนชอบโดรายากิตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมา

Dorayaki (どら焼き, どらやき, 銅鑼焼き, ドラ焼き)

Dorayaki (どら焼き, どらやき, 銅鑼焼き, ドラ焼き)

ปัจจุบัน โดรายากิ Dorayaki กลายเป็นขนมหวาน จากการ์ตูน ที่คนทั่วโลก รู้จัก แต่น้อยคนจะรู้ว่า โดรายากิ dora-yaki มีที่มาอย่างไร

หลายกระแสบอกว่า โดรายากิ Dorayaki มีที่มาจาก ขนมที่ คนญี่ปุ่น นิยมถวาย เทพเจ้า ในศาลเจ้า มาแต่โบราณ ผมเองก็ฟังยิ้มๆ น่าจะเข้าใจผิด เพราะอันนี้น่าจะหมายถึง โมจิ ซึ่งเป็นขนมชิ้นแรกในปัจจุบันที่โดราเอมอนได้ทานในตอนแรกของเรื่อง ไม่เกี่ยวกับโดรายากิ

บางคนก็ท้าวความไปถึงสมัยเบงเคย์ ตอนที่ได้รับบาดเจ็บ และได้รับความช่วยเหลือจากครอบครัวนึง แล้วแสดงคำขอบคุณด้วยการให้ขนมชนิดนี้เป็นการตอบแทน

มี่ขนมที่ดูใช่และใกล้เคียงกับความเข้าใจนี้มากที่สุดก็คือ ขนม Imagawayaki 今川焼き ขนมดั้งเดิมสมัยเอโดะ ซึ่งมีบันทึกไว้ถึงขนมชนิดนี้ ตั้งแต่ช่วงปี 1772-1781 ซึ่งดูเผินๆ ใกล้เคียงกันมาก แต่ต่างกันตรงแป้งที่ใช้ และวิธีการทำ เพราะขนม Imagawayaki 今川焼き เป็นแป้งที่หุ้มไส้ถั่วแดงทั้งชิ้น แต่ โดรายากิทำง่ายกว่า แค่เอาแพนเค้ก 2 อันมาใส่ไส้ถั่วแดงกวนก็เสร็จ ที่ใกล้เคียงอีกอันนึงก็คือไท้ยากิ ซึ่งเป็นแป้งไส้ถั่วแดงเหมือนกัน แต่ก็ต่างกันตรงที่วิธีการทำอีกเช่นกัน (อย่าลืมว่าไส้ถั่วแดงนี่เป็นเอกลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของขนมหลายๆชนิดของญี่ปุ่นก็ว่าได้)

เหตุผลหลักอีกข้อที่ โดรายากิ ต่างออกมาจากขนมไส้ถั่วแดงชนิดอื่นๆ ในญี่ปุ่นเดิม เป็นเพราะ แพนเค้ก ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของโดรายากิ ไม่ใช่ของประเทศญี่ปุ่นดั้งเดิมแต่มาจากต่างประเทศ พูดง่ายๆว่า โดรายากิ เป็นการพบกันระหว่างวัฒนธรรมการกินของฝั่งตะวันตก คือ แพนเค้ก กับฝั่งตะวันออก คือ ถั่วแดงกวน ของญี่ปุ่น เป็นการพบพานระหว่าง 2 วัฒนธรรมที่มาผสมลงตัวกันอย่างกลมกลืน

ตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์ แพนเค้ก ถูกนำมาใช้ในร้าน Usagiya ตั้งแต่ปี 1913 โดย Taniguchi Kisaku ซึ่งมาจากเมืองโทยาม่า (บ้านเกิดที่เดียวกับ อ.ฮิโรชิ ฟูจิโมโตะ) โดยไม่มีใครทราบที่มาแน่ชัดของการเรียกว่า โดรายากิ มีที่มาของชื่อ โดรายากิจากหลายทาง บ้างก็ว่ามาจากรูปทรงของแป้งที่ทำเสร็จแล้วทรงกลม บ้างก็ว่ามาจากจีน ที่มาจากฆ้องทรงกลมอันใหญ่ที่เรียกว่า gong

โดรายากิ โดรายากิ โดรายากิ

แต่ที่แน่ๆ โดรายากิ ถูกทำขายเป็นครั้งแรกในปี 1927 โดยร้าน Usagiya ที่ Ueno เป็นเจ้าแรก หรือเรียกได้ว่าถือกำเนิดใน โตเกียว รูปทรงดั้งเดิมยังเป็นแผ่นเดียว ส่วนในทางโอซาก้า คันไซ เรียกกันว่า มิซากะ อันมีที่มาจากชื่อภูเขาในสวนสาธารณะแห่งนึงในนารา ที่นิยมไปนั่งชมพระจันทร์เต็มดวงและทานขนมหวาน

ในหลังสงครามโลก ปี 1945 แพนเค้กเริ่มมีบทบาทในโรงเรียนประถมมากขึ้นเรื่อยๆ และในที่สุดการรับทานแบบเดิมที่ยุ่งยาก แบบที่ราดน้ำเมเปิ้ล หรือน้ำผึ้ง ไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมพกพาสะดวกของญี่ปุ่น การผสมผสานระหว่างไส้ถั่วแดงและแพนเค้กก็เลยเกิดขึ้น เพื่อ พกพาสะดวก นำไปทานที่ไหนก้ได้ ที่สำคัญเป้นขนมที่มีประโยชน์สำหรับเด็กๆ

Doraemon & Dorayaki

Doraemon & Dorayaki

ตอนนั้น โดราเอมอน ที่เริ่มต้นตีพิมพ์ลงในนิตยสารสำหรับเด็กประถม ก็มีการพูดคุยว่า น่าจะนำ โดรายากิ มาทำเป็นเมนูที่โดราเอมอนชอบทาน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กๆในการได้ทานขนมที่มีประโยชน์ และแน่นอนว่าโดราเอมอนก็ทำได้สำเร็จเสียด้วย เพราะนับจากนั้นเป็นต้นมา โดรายากิ Dorayaki กลายเป็นขนมที่เด็กๆ รู้จักและชอบทาน ขึ้นมาจริงๆ ไม่เว้นแม้แต่ในประเทศต่างๆ แม้กระทั่งประเทศไทย โดรายากิ Dorayaki ก็เป็นขนมที่เรารู้จักและทดลองทานจนติดใจด้วยเช่นกัน

สาระของ โดรายากิ ขนมที่มาจาก 2 วัฒนธรรม ตะวันตก และตะวันออก(ญี่ปุ่น) การเป็นขนมชนิดใหม่ ที่ผสมผสานอย่างลงตัว ทั้งสื่อความหมายของการเป็นทูตวัฒนธรรม และยังเป็นขนมที่มีประโยชน์สำหรับเด็กๆ ทำให้ขนมธรรมดาที่ไม่ธรรมดานี้ กลายเป็น ขนมจากการ์ตูน ที่คนทั่วโลกรู้จักกันในปัจจุบัน น่าทึ่งดีนะครับ

โดรายากิ

ปัจจุบัน ร้าน อูซางิ (กระต่ายที่น่ารัก) ยังเปิดอยู่ ห่างจากสถานีอุเอโน่ไปไม่ไกล โดยมีสัญลักษณ์กระต่ายขาว หน้าร้าน ถ้าใครอยากชิมบอกนะครับ เราจะได้แวะไปชิมรำลึกกัน ชิ้นละ 200 เยน เท่านั้นเอง (แต่ต้องสั่งจองก่อนนะถึงจะได้ทาน)

นอกจากนั้น อีกที่ที่ควรไปก็ คือ พิพิธภัณฑ์โดราเอมอน Fujiko F. Fujio Museum เพราะที่นั่นคือปลายทางที่สมบูรณ์แบบสุดฟิน สำหรับ โดรายากิ ฉบับโดราเอมอน อย่างแท้จริง

Fujiko F. Fujio

Fujiko F. Fujio

หมายเหตุ ขนม Imagawayaki 今川焼き มีชื่อเรียกต่างออกไปตามภูมิภาคด้วยนะครับ เช่นทางเหนือ อาโอโมริ และทางฮอกไกโด เรียก Oyaki おやき ทางคันไซเรียก Ōban-yaki 大判焼き หรือ Kaiten-yaki 回転焼き และทางคิวชูเรียก Kaiten manjū 回転饅頭